จรรยาบรรณสื่อ

จรรยาบรรณสื่อ


         จากการที่ได้ดูรายการต่างคนต่างคิดที่มีทิดมโนและคุณอัย เป็นแขกรับเชิญ ของรายการในทีวีช่องอัมรินทร์ และสดๆร้อนๆ จากหนังสือพิมพ์เนชั่นที่นำเอาข้อมูลการได้ แรงบันดาลใจเรื่องกระเป๋าแบรนด์หรูมานำเสนอ มีสิ่งที่น่าพิจารณา ในฐานะของผู้เสพสื่อว่า แท้จริงแล้ว สื่อกำลังให้อะไรกับสังคมหรือผู้รับสาร
         ก่อนที่เราจะลงรายละเอียดกันในสองตัวอย่างนั้น ขอให้เราได้ศึกษาเรื่องสำคัญคือ
จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล ดังนี้

         จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล  23 ข้อ ประกอบด้วย
1. ต้องกระทำตนให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสมมีกริยาดี (The bounds of decency)
2. ไม่สร้างข่าวขึ้นเอง (Do not attempt to make news)
3. ต้องเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดแก่ผู้รับสาร (The truth and the whole truth)
4. ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น (Do not to invade the private rights)
5. ไม่บังคับบุคคลให้พูด (Do not to force individuals to speak)
6. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสังคม (Play fair with a person against whom derogatory charges)
7. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่นำมากล่าวถึงในคอลัมน์ (Play fair with persons quoted in its columns)
8. รักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว (Keep the confidence of its news sources)
9. ไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่นำเสนอ (Do not suppress news)
10. ไม่ควรขายข่าว ขายคอลัมน์เพื่อเงิน หรือความพอใจส่วนตัว (Do not "sell" its news colums for money or courtesies)
11. ละเว้นจากการเข้าร่วมพรรคการเมือง (Refrain from allowing party politics)
12. ต้องบริการคนส่วนรวม มิใช่บริการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (Serve the whole society, not just one "class")
13. ช่วยต่อสู้และปราบปรามอาชญากร (Fight and discourage crime)
14. ต้องเคารพ และช่วยผดุงกฏหมายบ้านเมือง (Must respect and aid the law and the courts)
15. สร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชุมชน (Seek to build its community)
16. ไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างญาติและเพื่อนของผู้อื่น (Not injure the relatives and friends)
17. คำนึงว่าการหย่าร้าง การฆ่าตัวตายนั้น เป็นปัญหาสังคมสิ่งหนึ่งไม่ควรเสนอข่าวไปในเชิงไม่สุภาพ (To recognize divorce, suicide as an unfortunate social problem)
18. อย่ากล่าวโจมตีคู่แข่ง (Do not attack on competitive)
19. อย่าหัวเราะเยาะความวิกลจริต จิตทราม หรือพลาดโอกาสของบุคคล (Do not ridicule the insane or the feebleminded or misfortunes)
20. เคารพนับถือวัด โบสถ์ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ของบุคคล (Respect churches, nationalities and races)
21. หน้ากีฬาควรเขียนถึงทุกๆ คน (Sports page is written for everybody)
22. แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในทันที (Be prompt in correcting errors)
23. จำไว้ว่าข่าวที่นำเสนอนั้น มีเยาวชนชายหญิงอ่านด้วย (Remember that the new is read by young boys and girls)

         ทีนี้เราลองมาดูกรณีศึกษาทั้งสองเรื่องนี้
                1. กรณีรายการต่างคนต่างคิด
                    - ทั้งโดยกริยาท่าทาง ที่ดูอย่างไรก็เห็นว่ามีการรู้กันกับฝ่ายมโน เพื่อจะเล่นงานอีฝ่ายตรงกันข้าม
                  - ทั้งการตัดต่อคำพูดของอีกฝ่ายให้ผู้รับสื่อเกิดความเข้าใจผิด
                  - ทั้งการเรียกพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่โดยขาดความเคารพ
                  - ทั้งการเสนอข้อเท็จแก่ผู้รับสาร
                  - ทั้งเป็นการทำลายความสัมพันธ์ของคนในสังคม
                  2. กรณีเรื่องกระเป๋าแบรนด์หรูที่ไปนำข้อมูลจากโลกออนไลน์ซึ่งเป็น
เรื่องที่แต่งขำๆ ไปลงเป็นข่าว แล้วในที่สุดก็แค่ออกมาขอโทษ
                  - นั่นคือ การนำข้อมูลเท็จมานำเสนอโดยปราศจากการกลั่นกรอง



         ทั้งสองกรณีนี้ แท้จริงคือการขาดความรับผิดชอบในสังคม เคยคิดบ้างไหมว่าเมื่อผู้เสพสื่อได้รับสื่อไปแล้วจะมีอะไรตามมา อย่างน้อยที่สุด คือ การนำไปพูดต่อๆกันไป สร้างความเข้าใจผิดให้ขยายกว้างขึ้น และหากเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศรัทธา ความเชื่อหรือศาสนา ยังเป็นหนทางให้เกิดความเสื่อมศรัทธา เป็นการทำลายศาสนาจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เคยเกิดขึ้นกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมาแล้ว เมื่อ 10 ปีก่อน สมัยนั้นสื่อทุกสื่อประโคมข่าวว่า ท่านเป็นซิติเซ่น(พลเมืองของอเมริกา) ไม่กี่วันก็ออกข่าวว่า จริงๆแล้ว ท่านมีใบเขียวหรือกรีนการ์ด  แต่ในที่สุดความจริงก็ปรากฏว่า ท่านไม่เคยไปอเมริกาเลย ทำเอา สำนักข่าวทั้งหลายเงิบ แต่เนื่องจากท่านไม่เอาเรื่อง สื่อต่างๆก็ทำเงียบ ไม่ได้รับผิดชอบสิ่งที่ตนเองทำ แต่ผลคือ บางคนก็ด่า ว่าร้าย จ้วงจาบท่านไปแล้ว
         ณ วันนี้มีสื่อไหนบ้างที่กล้าออกมาพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า ได้ทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณข้างต้น มีสื่อไหนบ้างที่กล้าพูดว่า ตนเองไม่ได้ทำหน้าที่รับใช้หน่วยงานที่มีอำนาจหรือฝ่ายการเมืองใด มีสื่อไหนบ้างที่กล้าพูดว่าตนเองทำหน้าที่เพื่อมวลชนอย่างแท้จริง
         ขอสักชื่อเถอะ อย่างน้อยผมจะได้ชื่นใจบ้างว่า ยังมีสื่อสีขาวที่เป็นน้ำดี มีจรรยาบรรณในสังคมนี้  


ปรัศนี
                 





จรรยาบรรณสื่อ จรรยาบรรณสื่อ Reviewed by asabha072 on 5:34 AM Rating: 5

No comments:

Powered by Blogger.